Lucky Charms Heart

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด

1. ในสารละลาย 500 cm3 มี K2SO4 ละลายอยู่ 43.5 g จงคำนวณหาความเข้มข้นในหน่วย ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร และโมลาร์
วิธีคิด ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร



ตอบ สารละลายมีความเข้มข้นร้อยละ  8.7

วิธีคิด โมลาร์
โมลาร์ = จำนวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร (หรือ 1000 cm3)

จากโจทย์ สารละลาย 500 cm3 มี K2SO4ละลายอยู่ 43.5 g ซึ่งคิดเป็น 


ดังนั้น สารละลาย 1000 cm3มี K2SO4 ละลายอยู่ 



ตอบ สารละลายมีความเข้มข้น 0.5 mol/L
______________________________________________________________________________

2.  สารละลาย H2SO4 ขวดหนึ่งเขียนติดข้างขวดว่ามีความเข้มข้นร้อยละ 95  และมีความหนาแน่น 1.834 g/cm3
 ถ้าสารละลายนี้มีน้ำเป็นตัวทำละลาย จงหาความเข้มข้นในหน่วยมวลต่อปริมาตร ,โมลาร์, โมแลลและเศษส่วนโมล

วิธีคิด 1 น้ำหนักโมเลกุล H2SO4  =  (2 × 1) + 32 + (4 × 16) = 98 , H2O = (2 × 1) + 16 = 18
จากโจทย์ สารละลาย H2SO4 เข้มข้นร้อยละ 95 แสดงว่าในสารละลาย 100 g มี H2SO4 ละลายอยู่ 95 g
แต่เนื่องจาก %wt/v  = มวลของตัวถูกละลาย (g) ในสารละลาย 100 cm3
 ดังนั้น ต้องเปลี่ยนหน่วยสารละลายเป็นปริมาตร (cm3)  และเทียบกับปริมาตร สารละลาย 100 cm3



ดังนั้น สารละลาย 100 cm3 มี H2SO4 ละลายอยู่ 



ตอบ สารละลายมีความเข้มข้นร้อยละ 174.23

วิธีคิด 2 สารละลาย H2SO4 ขวดหนึ่งเขียนติดข้างขวดว่ามีความเข้มข้นร้อยละ 95  และมีความหนาแน่น 1.834 g/cm3
 ถ้าสารละลายนี้มีน้ำเป็นตัวทำละลาย จงหาความเข้มข้นในหน่วยมวลต่อปริมาตร


ดังนั้น สารละลาย 1000 cm3 มี H2SO4 ละลายอยู่ 


ตอบ สารละลายมีความเข้มข้น = 17.78 mol/L

วิธีคิด 3 เปลี่ยนร้อยละโดยมวล เป็น molal หรือ mol/kg of solvent

จากโจทย์ สารละลาย H2SO4  95 %wt แสดงว่าในสารละลาย 100 g มี H2SO4 95 g และ H2O อยู่ 5 g
แต่เนื่องจาก โมแลล = จำนวนโมลของตัวถูกละลายในตัวท าละลาย 1 kg (หรือ 1000 g)

ดังนั้นดังนั้นต้องเปลี่ยนหน่วยตัวถูกละลายเป็นจ านวน โมลและเทียบกับน้ำ 1000 g


ตอบ สารละลายมีความเข้มข้น = 193.88 mol/kg of H2O

______________________________________________________________________________

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความเข้มข้นของสารละลาย

ความเข้มข้นของสารละลาย (Concentration of solution)
  
          ความเข้มข้นของสารละลาย คือ ค่าที่แสดงสัดส่วนของตัวถูกละลายและตัวทำละลายในสารละลายหน่วยความเข้มข้นของสารละลายมีหลายประเภท โดยสามารถค านวณเปลี่ยนจากหน่วยความเข้มข้นจากหน่วยหนึ่งไปเป็นอีกหน่วยหนึ่งได้โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ ในกรณีที่สารละลายไม่ได้ระบุชนิดของตัวทำละลาย ให้นักศึกษาคำนวณโดยคิดว่าตัวทำละลายคือน้ำ (H2O)

หน่วยความเข้มข้นของสารละลายที่สำคัญมีดังนี้ 

      ร้อยละของตัวถูกละลาย เป็นหน่วยที่แสดงปริมาณของตัวถูกละลายในสารละลาย 100
ส่วน มี 3 แบบ ได้แก่ 

 1)  ร้อยละโดยมวล (มวล / มวล) หมายถึง มวลของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 หน่วยมวลเดียวกัน
เช่น น้ำเกลือเข้มข้นร้อยละ 10  หมายถึงในสารละลาย 100 g มีเกลือละลายอยู่ 10 g ร้อยละโดย

มวลสามารถคำนวณได้จาก


2)  ร้อยละโดยปริมาตร (ปริมาตร / ปริมาตร) หมายถึง ปริมาตรของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตรเดียวกัน นิยมใช้กับสารละลายที่มีตัวถูกละลายและตัวทำละลายเป็นของเหลวทั้งคู่ เช่น สารละลายเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 20 หมายถึงในสารละลาย 100 cm3 มีเอทานอลละลายอยู่ 20 cm3
 หน่วยร้อยละโดยปริมาตร โดยคำนวณได้จาก

3)  ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร (มวล / ปริมาตร) หมายถึง มวลของตัวถูกละลายเป็นกรัมในสารละลาย
100 cm3  นิยมใช้กับสารละลายที่มีตัวถูกละลายเป็นของแข็งและตัวทำละลายเป็นของเหลว

เช่น น้ำเชื่อมเข้มข้นร้อยละ 15 หมายถึงในสารละลาย 100 cm3 มีน้ำตาลละลายอยู่ 15 g หน่วยร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร สามารถคำนวณได้จาก




           โมลาริตี้ (Molarity)  เป็นหน่วยที่แสดงจำนวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร
(หรือสารละลาย 1000 cm3) แทนด้วยสัญลักษณ์ mol/L, mol/dm3, molar หรือ M ก็ได้
โมลาริตี้เป็นหน่วยที่นิยมใช้ทั่วไป สามารถคำนวณได้จาก




         โมแลลิตี้ (Molality)  เป็นหน่วยที่แสดงจำนวนโมลของตัวถูกละลายในตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม แทนด้วยสัญลักษณ์ mol/kg, molal หรือ m  ก็ได้
         โมแลลิตี้เป็นหน่วยที่นิยมใช้ในการค านวณสมบัติคอลลิเกตีฟที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจุด
หลอมเหลวและจุดเดือดของสารละลาย สามารถคำนวณได้จาก 



ข้อควรระวัง ในการคำนวณความเข้มข้นในหน่วยโมแลลิตี้ คือโมแลลิตี้เป็นหน่วยที่บอกอัตราส่วน
ของตัวถูกละลายเทียบกับตัวทำละลาย ไม่ใช่เทียบกับสารละลายดังเช่นหน่วยความเข้มข้นอื่น ๆ


         เศษส่วนโมล (Mole fraction)  เป็นหน่วยที่แสดงสัดส่วนจำนวนโมลของสารองค์ประกอบหนึ่งต่อจำนวนโมลรวมของสารทุกชนิดในสารละลาย แทนด้วยสัญลักษณ์ X   เช่น สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A nA mol , สาร B nB  mol และสาร C NC mol จะคำนวณเศษส่วนโมลของสารแต่ละตัว ดังนี้



และผลรวมของเศษส่วนโมลของสารทั้งหมดในสารละลายจะเท่ากับ 1 เสมอ นั่นคือ XA + XB + XC = 1
เศษส่วนโมลยังสามารถรายงานในรูปของโมลเปอร์เซนต์ (Mole percent) จากสมการ

                                                  โมลเปอร์เซนต์ (%) = เศษส่วนโมล x 100 %